• HOME
  • MAGAZINE
    Engineering Today Electricity & Industry Magazine อินทาเนีย Green network บรรจุภัณฑ์ไทย วารสารเหมืองแร่ วารสารลูกฟูกไทย Science Tech
  • ABOUT US
  • AWARD
  • CONTACT US


ข้อสังเกต 12 แบบอาคารเสี่ยงแผ่นดินไหว)

วันที่: 05 มิถุนายน 2557 | รายงานพิเศษ

รองศาสตราจารย์ ดร. อมร พิมานมาศ รองเลขาธิการสภาวิศวกร
อาจารย์ประจำสถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
นักวิจัยโครงการ “ศึกษาวิธีการออกแบบและเสริมกำลังอาคารในประเทศเพื่อต้านทานแผ่นดินไหว” สกว.

จากเหตุแผ่นดินไหวเชียงราย ทำให้โครงสร้างได้รับความเสียหายเป็นจำนวนมาก สาเหตุหนึ่งเป็นเพราะอาคารไม่ได้ออกแบบและก่อสร้างที่ถูกต้องตามหลักทางวิศวกรรม ปัจจุบันมีอาคารหรือสิ่งก่อสร้างมีจำนวนมาก อาคารบางหลังมีลักษณะและรูปร่างที่เสี่ยงต่อแผ่นดินไหว ซึ่งมีข้อสังเกต 12 รูปแบบ ดังนี้

  1. อาคารที่ชั้นล่างเปิดโล่ง เช่น อาคารที่ชั้นบนมีเสาวางเรียงกันตามปกติ แต่ชั้นล่างเหลือเสาเพียงไม่กี่ต้น ทำให้ชั้นล่างมีสภาพเป็นชั้นที่เปิดโล่ง จึงกลายเป็นจุดอ่อนของอาคาร
  2. อาคารที่ชั้นใดชั้นหนึ่งมีความสูงมากหรือน้อยกว่าชั้นอื่นๆ อย่างผิดปกติ ชั้นนั้นจะถือว่าเป็นชั้นที่อ่อนแอ และเสาของอาคารในชั้นนั้นจะถูกทำลายโดยแผ่นดินไหวก่อนชั้นอื่น
  3. อาคารที่ชั้นใดชั้นหนึ่งมีน้ำหนักมากกว่าชั้นอื่นเกิน 1.5 เท่าขึ้นไป เช่น มีการกองของหนักๆ มากผิดปกติ ชั้นนั้นจะเป็นชั้นที่โดยแผ่นดินไหวทำลายก่อน
  4. อาคารที่ชั้นใดชั้นหนึ่งมีรูปร่างหรือขนาดที่เปลี่ยนไปอย่างกะทันหัน เช่น มีมิติที่เล็กลงหรือใหญ่ขึ้นกว่าชั้นถัดไปเกิน 1.3 เท่าขึ้นไป ถือเป็นชั้นที่อันตราย
  5. อาคารที่มีผนังรับแรง กำแพงคอนกรีต หรือเสาวางขาดตอนหรือไม่ต่อเนื่องจนถึงชั้นฐานราก ตำแหน่งที่กำแพงหรือเสาหยุดหรือขาดตอน เป็นตำแหน่งที่อันตรายของอาคาร
  6. อาคารที่มีส่วนยื่นออกจากตัวอาคารอย่างมากโดยไม่มีเสารองรับ ตรงส่วนที่ยื่นไปนั้นจะมีการสั่นสะเทือนแรงกว่าปกติ อาจทำให้โครงสร้างเสียหายได้
  7. อาคารที่ตำแหน่งของปล่องลิฟต์คอนกรีตเยื้องออกจากจุดศูนย์กลางของอาคารมากๆ จะเกิดการบิดตัวอย่างแรงในขณะที่เกิดแผ่นดินไหว และอาจส่งผลให้เสาต้นที่อยู่ทแยงมุมกับปล่องลิฟต์เฉือนขาดได้
  8. อาคาร 2 หลังที่อยู่ใกล้กันมากๆ เมื่อเกิดแผ่นดินไหวอาคารอาจจะกระทบกันแล้วทำให้โครงสร้างเสียหายได้
  9. อาคารที่ผังอาคารยื่นออกไปหลายส่วน เช่น อาคารตัวแอล ตัวที หรือกากบาท เมื่อเกิดการสั่นสะเทือน ปีกอาคารแต่ละส่วนจะสบัดไปคนละทิศทาง ทำให้อาคารขาดแยกจากกันได้
  10. อาคารที่พื้นเจาะช่องเปิดขนาดใหญ่เกินร้อยละ 50 ของพื้นที่อาคาร ทำให้พื้นอาคารอ่อนแอเสี่ยงต่อแผ่นดินไหว
  11. อาคารที่มีรูปร่างไม่สมมาตร หรืออาคารที่ตำแหน่งเสาและกำแพงกระจัดกระจายอย่างไร้ระเบียบ ทำให้โครงสร้างอาคารไม่ประสานกันในการต้านแผ่นดินไหว เป็นอาคารที่เสี่ยงต่อแผ่นดินไหว
  12. อาคารที่ต่อเติมหรือดัดแปลงเปลี่ยนสภาพไปจากเดิม ที่ต้องรับน้ำหนักมากผิดปกติ เป็นอาคารที่เสี่ยงต่อแผ่นดินไหว

หมายเหตุ แหล่งที่มารูปภาพ
1. http://www.turinconsecreto.com/viewtopic.php?t=608
2. http://www.air-worldwide.com/Publications/AIR-Currents/Izmit-D%CF%8Bzce-Ten-Years-Later--Is-Istanbul-at-Greater-Risk-Today-/



บริษัท เทคโนโลยี มีเดีย จำกัด
471/3-4 อาคารพญาไทเพลส ถ.ศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กทม. 10400
E-mail : webmaster@technologymedia.co.th
Tel. 0-2354-5333, 0-2644-6649
Fax. 0-2640-4260

© 2019 TECHNOLOGY MEDIA CO.,LTD. All rights reserved.